สถาปัตยกรรมกอทิก ของ เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต

โบสถ์เซนต์ออกัสตินในไวเมต สถาปัตยกรรมรูปแบบกอทิกที่ทำจากไม้ออกแบบโดยเมานต์ฟอร์ตในปี 1872 มีหอระฆังแบบโบสถ์ยุคกลางที่ย่อส่วนลงมา ถัดมาคือหลังคาของชาโต มีซุ้มประตูแบบโบสถ์ประจำเขตแพริชของอังกฤษ เมื่อรวมกันทั้งหมดสร้างความกลมกลืนให้กับทัศนียภาพของนิวซีแลนด์

รูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นการตอบโต้ต่อศิลปะจินตนิยมที่มีรูปแบบความคลาสสิกและทางการมากกว่า ซึ่งมีอิทธิพลในสองศตวรรษก่อนหน้านี้[21] เมานต์ฟอร์ตในวัย 16 ปี ได้รับหนังสือสองเล่มที่แต่งโดยผู้ปลุกศรัทธากอทิกขึ้นใหม่ ออกัสตัส พิวจิน คือหนังสือ The True Principles of Christian or Pointed Architecture และ An Apology for the Revival of Christian Architecture หลังจากนั้นเมานต์ฟอร์ตก็เป็นสาวกค่านิยมสถาปัตยกรรมแองโกล-คาทอลิกแบบพิวจิน[22] ค่านิยมเหล่านี้ก็มากขึ้นเมื่อปี 1846 ตอนเขาอายุ 21 ปี เมานต์ฟอร์ตเป็นศิษย์ของริชาร์ด ครอมเวลล์ คาร์เพนเทอร์[4]

คาร์เพนเทอร์มีความเหมือนกับเมานต์ฟอร์ตตรงที่มีความศรัทธาแองโกล-คาทอลิกและเห็นด้วยกับทฤษฎีลัทธิแทร็กทาเรียนิสม์และด้วยวิธีการเคลื่อนไหวแบบออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์[23] การเคลื่อนไหวด้านเทววิทยาเชิงอนุรักษ์นิยมเหล่านี้ได้สอนว่า จิตวิญญาณที่แท้จริงและการมีสมาธิในการอธิษฐานมีผลต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพและโบสถ์ยุคกลางมีความเป็นจิตวิญญาณมากกว่าต้นศตวรรษที่ 19 เป็นผลให้สถาปัตยกรรมยุคกลางเทวนิยมเป็นที่รับรู้กันว่ามีคุณค่าทางจิตวิญญาณมากกว่าสถาปัตยกรรมที่ยึดแบบปัลลาดีโอในช่วงศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19[24] แม้ออกัสตัส พิวจินยังแถลงว่าสถาปัตยกรรมยุคกลางเป็นรูปแบบเดียวที่เหมาะสมกับโบสถ์และแบบปัลลาดีโอเกือบจะผิดจารีต ทฤษฎีเช่นนี้ไม่ได้มีผลบังคับต่อสถาปนิกและยังคงมีมาอย่างโดยดีจนเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 โรงเรียนด้านความคิดเหล่านี้ได้ชักนำผู้รู้อย่างเช่น กวีชาวอังกฤษ เอซรา พาวด์ให้พึงพอใจอาคารสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์มากกว่าสถาปัตยกรรมบาโรกบนพื้นฐานที่ต่อมาได้เป็นสัญลักษณ์ของการละทิ้งโลกแห่งความชัดเจนทางปัญญาและแสงสว่างต่อคุณค่าโดยยึดจากแนวคิดเรื่องนรกและยังเพิ่มการมีอำนาจแก่สังคมนายธนาคาร ผู้ที่เคยถูกดูแคลน[25]

อะไรก็ตามที่อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ในลอนดอน กลุ่มผู้ปกครองแห่งจักรวรรดิบริติชในศตวรรษที่ 19 รู้สึกว่าสถาปัตยกรรมกอทิกมีความเหมาะสมกับอาณานิคมเพราะได้แสดงความหมายอันโดดเด่นของแองกลิคัน แสดงให้เห็นถึงการทำงานหนัก จรรยา และการเปลี่ยนความเชื่อของชนพื้นเมือง[26] มีการเหน็บแนมว่างานโบสถ์หลายงานของเมานต์ฟอร์ตเป็นโบสถ์สำหรับโรมันคาทอลิก ด้วยที่มีผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่จำนวนมากเป็นชาวไอริชดั้งเดิม[27] สำหรับช่างก่อสร้างชนชั้นกลางของจักรวรรดิ รูปแบบกอทิกทำให้ย้อนรำลึกถึงความหลังถึงเขตศาสนาเมื่อเขาละทิ้งอังกฤษ ด้วยความที่เป็นสถาปัตยกรรมยุคกลางที่แท้จริง สิ่งนี้ทำให้พวกเขาเหล่านี้เลือกสถาปนิกและการออกแบบ[28]

งานแบบกอทิกของเมานต์ฟอร์ตในช่วงแรกในนิวซีแลนด์มีความเคร่งครัดในลักษณะของแองกลิคันมากกว่า อันเนื่องจากเขาทำตามคาร์เพนเทอร์ มีองค์ประกอบหน้าต่างช่องรูปใบหอกสูงและมีหลังคาหน้าจั่วจำนวนมาก[29] เมื่อการงานเขาก้าวหน้า เขาได้พิสูจน์ตัวเองต่อฝ่ายบริหารที่จ้างเขา ผลงานการออกแบบของเขาได้พัฒนาให้มีรูปแบบยุโรปมากขึ้น โดยมีหอนาฬิกา หอคอย และเส้นหลังคาประดับตกแต่งทรงสูงแบบฝรั่งเศส รวมถึงรูปแบบที่ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของเมานต์ฟอร์ตแต่แนวทางเดียวกับสถาปนิกอย่างเช่น อัลเฟรด วอเทอร์เฮาส์ จากอังกฤษ[30]

ด้านฝีมือของเมานต์ฟอร์ตในฐานะสถาปนิก เขาได้ปรับให้เข้ากับรูปแบบความหรูหราให้เหมาะกับวัสดุที่มีจำกัดที่หาได้ในนิวซีแลนด์[12] ในขณะที่โบสถ์ไม้ทั่วไปนั้นเต็มไปด้วยองค์ประกอบบางอย่างแบบอเมริกัน มีการออกแบบด้วยความเรียบง่ายคลาสสิก ในทางตรงกันข้ามโบสถ์ไม้ของเมานต์ฟอร์ตในนิวซีแลนด์นั้นมีการประดับประดาเพ้อฝันแบบกอทิก เฉกเช่นที่เขาออกแบบในงานหิน อาจเป็นไปได้ว่าความหรูหราในงานเขานั้นสามารถอธิบายได้จากคำแถลงที่เป็นทางการที่เขาและผู้ร่วมงาน ลัก ได้เขียนไว้เพื่อประมูลชนะเมื่อการออกแบบทำเนียบรัฐบาลในออกแลนด์เมื่อปี 1857

ตามที่เราเห็นสิ่งก่อสร้างตามธรรมชาติ ภูเขาและเนินเขา ที่ไม่ได้มีกรอบเส้นสม่ำเสมอแต่มีความหลากหลาย ทั้งค้ำยัน กำแพง และหอคอย ที่ผิดแผกต่อกันซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ยังสร้างระดับชั้นผลกระทบให้ต่างจากผลงานอื่น ได้หล่อหลอมกฎเกณฑ์ของเส้นกรอบ การศึกษาง่าย ๆ เกี่ยวกับต้นโอ๊กหรือต้นเอล์ม มีความเพียงพอที่พิสูจน์ทฤษฎีความสม่ำเสมอได้ว่าผิด[31]

ใกล้เคียง

เบนจามิน แฟรงคลิน เบนจามิน โจเซฟ วาร์นี เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต เบนจามิน จุง ทัฟเนล เบนจามิน เนทันยาฮู เบนจามิน แฮร์ริสัน เบนจามิน บัตตัน อัศจรรย์ฅนโลกไม่เคยรู้ เบนจามิน ทอมป์สัน เบนจามิน ดิสราเอลี เบนจามิน วอล์เกอร์ (นักแสดง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบนจามิน เมานต์ฟอร์ต http://www.smh.com.au/photogallery/world/christchu... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/Phot... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/earl... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/earl... http://christchurchcitylibraries.com/heritage/phot... http://www.architecture.auckland.ac.nz/common/libr... http://www.freemasons.co.nz/news/gazette/Vol30_1/f... http://static2.stuff.co.nz/1298346462/729/4689729_... http://www.stuff.co.nz/the-press/news/christchurch... http://archived.ccc.govt.nz/HeritageWeek/2000/Tour...